วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัดป่าภูก้อน



กดกด

ตระเวนชิมของอร่อยที่ อุดรธานี

มื้อเช้า ที่ ร้าน คิงส์โอชา อยู่บน ถนน หมากแข้ง  ใกล้ๆ กับโรงจำนำ
แนะนำ สตูว์ไก่และ สตูว์หมูค่ะ (  ไปเช้าๆ นะคะ เพราะวันที่ไป ตื่นสาย สตูว์ไก่หมด ) ไข่กระทะ เครื่องเยอะมากค่ะ มาถึงอุดร ต้องกินเลยค่ะ  ขนมปังยัดไส้อบมาร้อนๆ ไส้ หมูยอ กุนเชียงก็ห้ามพลาดนะคะ

มื้อกลางวันที่ร้าน หมูแดง55  อยู่ใกล้ธนาคารออมสิน
สั่งพิเศษเลยนะคะ ทั้งหมูแดง หมูกรอบ รสชาดดี  น้ำราดหมูแดง หอมอร่อย ไม่หวานเกินไป  ต้องมาลองเองค่ะ

แวะไปชิมร้านก๋วยเตี๋ยวหมู ย่าน บ้านจิก หลังเรือนจำอุดรธานี ถนนแถวนี้ร้านก๋วยเตี๋ยวเยอะมาก ซึ่งเดิมทีมีเพียงสองร้าน  คือร้าน ทองดี  และ ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูบ้านจิก ( เดิมทีไม่มีชื่อร้าน )   ร้านทองดีจะขายก๋วยเตี๋ยวหมูดั้งเดิมโบราณ
ส่วนร้านก๋วยเตี๋ยวหมูบ้านจิกจะมีก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำใส่ถั่วลิสง อร่อย เครื่องเยอะ   เลยตัดสินใจกินที่ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูบ้านจิกค่ะ   ชามใหญ่ดี รสชาดเข้มข้น  เครื่องเยอะด้วยค่ะ   ท้องอิ่มแล้ว พร้อมเดินทางไปหนองคายต่อแล้วค่ะ

ยูดีทาวน์อุดรธานี เป็นแหล่งช็อบปิ่ง วัยรุ่น




ศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ แหล่งท่องเที่ยวใน จ.อุดรธานี

แหล่งช้อปปิ้งของวัยรุ่นเมืองอุดรธานี ยูดีทาวน์ ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟอุดรธานี แหล่งช้อปิ้งบริเวณนี้ ประกอบไปด้วย แหล่งกิน แหล่งขายของ ที่ใหญ่มาก และมากจริงๆทั้งของกิน และของขาย เดินกันจนเมื่อยล่ะครับ พาไปชมพอหอปากหอมคอ ว่ายูดีทาวน์มีอะไรกันบ้าง น่าจะเป็นโต้รุ่งที่ใหญ่ที่สุดในอีสานเลยนะ

ถ้าดูจากแผนที่แล้ว บริเวณหน้าสถานีรถไฟนี้ จะประกอบไปด้วยพื้นที่ 3ตลาด แต่ละส่วนใหญ่ๆทั้งนั้น เมื่อเราเดินออกจาสถานีรถไฟ ฝั่งซ้ายจะเป็นยูดีทาวน์ ทั้งของกิน ของน่ารัก เสื้อผ้า แฟชั่น ศูนย์อาหารใหญ่มาก ส่วนฝั่งขวา ก็จะมีอีกตลาด แนวโต้รุ่งศุนยือาหารของกินอีกเพียบ เดินตรงไปมีอีกตลาด ใหญ่ไม่แพ้กัน ตั้งอยู่ที่แยกเดียวกันนี้แหละครับ นี้ถ้าเดินไปอีกประมาณ200เมตร เจอ ห้างเซ็นทรัลอุดรธานีอีก เดินได้อีก

กลางวันอาจจะดูไม่คึกคักอลังการเท่าช่วงหัวค่ำนะครับ ...ต้องมา

เมืองคำชะโนด

วัดโพธิสมภรณ์

วัดโพธิสมภรณ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหมากแข้ง เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2499 ตอนปลายราชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร(โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้

ภายในวัดยังมีสถานที่ น่าสนใจต่างๆ อาทิ เช่น พระบรมธาตุธรรมเจดีย์ พระเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ศาลามงคลธรรม พระระเบียงพระเจดีย์ ซึ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในวันธรรมดา/วันหยุด ในเวลา 8.30น.-18.00น. ส่วนวันนักขัตฤกษ์จะเปิดให้เข้าชมเวลา 8.30-20.00 น.

สวนอุทยานภูฝอยลม

พรีเมี่ยมเอาท์เล็ท อุดรธานี

พรีเมี่ยมเอาท์เล็ท อุดรธานี ริมถนนมิตรภาพ (เลี่ยงเมืองอุดรฯ-หนองคาย) ติดกับ Index Living Mall สาขาอุดรฯ ห่างจากตัวเมือง จ.อุดรฯเพียง 5 กม. ด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมสไตล์ยุโรปประยุกต์ และสีสันสดใสแปลกตา

 ก่อเกิดเป็นถนนสายแฟชั่น ให้คุณได้ช็อปจุใจไปกับเครื่องแต่งกายแบรนด์เนมระดับพรีเมี่ยมกว่า 150 แบรนด์ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของทุกคนในครอบครัว ด้วยบรรยากาศการช็อปปิ้งเสมือนเดินบนถนนสายแฟชั่นในต่างประเทศอันอบอุ่น

 และโรแมนติกจนหลายคนๆต้องเลือกใช้ที่นี่เป็นสถานที่ถ่ายรูปสุดแสนประทับใจ อีกแห่งหนึ่ง ภายในศูนย์การค้าฯ ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ลิฟท์แก้ว บันไดเลื่อนออโตเมติก ลานจอดรถรองรับ 500 คัน ฯลฯ และยังคงคอนเซปต์ลดราคาสูงสุด 70% ทุกวัน

เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 –21.00 น.

    พรีเมี่ยมเอาท์เล็ท อุดรธานี

  • 320 หมู่ 9 ซ.บ้านหนองเหล็ก ต.หมากแข้ง
    อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
  • 042-931234-6
  • Mon-Sun 10.00-21.00

เซ็นทรัลอุดรธานี

ศูนย์การค้าตั้งอยู่บนเส้นทางสู่อินโดจีน ซึ่งได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าโรบินสันท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์ ลานโบว์ลิ่ง ร้านอาหารและเครื่องดื่มและร้านค้าปลีกกว่า 400 ร้านค้า นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบที่ช่วยเสริมศักยภาพความสมบูรณ์พร้อมของโครงการด้วยโรงแรม เซ็นทารา อุดรธานี ที่มีห้องพักรองรับจำนวน 255 ห้อง ห้องสัมมนา และห้องประชุมอเนกประสงค์ขนาดใหญ่

ที่ตั้ง:
อุดรธานี
พื้นที่ค้าปลีกรวม: 85,000 ตร.ม.
โรงแรม: ขนาด 255 ห้อง
พื้นที่จอดรถ: 2,000 คัน
 

ที่อยู่ : เลขที่ 277/1-3 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร. : (042) 110 5555
แฟกซ์ : (042) 244 639

สวนสาธารณะหนองประจักษ์

สวนสาธารณะหนองประจักษ์
เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่กลางใจเมือง
เป็นเหมือนปอดของคนอุดร เป็นแห่งพักผ่อนหย่อนใจ
เป็นที่จัดงานต่างๆของจังหวัด เช่น งานลอยกระทง
มีร้านอาหาร ร้านนม บริเวณริมหนอง สามารถนั่งชิวๆๆ ชมวิวไปด้วยได้เลยนะครับ

เจริญศรีไนท์พลาซ่า

เจริญศรีไนท์พลาซ่า
อีกหนึ่งสถานที่จับจ่ายซื้อของ ในบรรยากาศริม หนองประจักษ์

ศาลปู่ย่าอุดรธานี

ศาลปู่ย่า ริมหนองบัว

ศาลเจ้าปู่-ย่า (จ.อุดรธานี)

ศาลเจ้าปู่-ย่า ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้ตลาดหนองบัว ถนนนิตโย เป็นศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบศาลชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่น และในศาลเจ้าปู่-ย่า แห่งนี้ยังเป็นที่เก็บรักษามังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

เคล็ดลับการกราบไหว้ขอพร  นอกจากการกราบไหว้ด้วยธูป 30 ดอกแล้ว การกราบไหว้ศาลเจ้าปู่-ย่า ต้องถวายส้ม 4 ลูก พอกราบไหว้ครบทั้ง 6 จุดแล้ว ให้เดินไปที่สะพานเก้าเลี้ยวเชื่อกันว่าเป็นจุดเชื่อมต่อสวรรค์ และรับรู้ว่าขอพรอะไรไป เสร็จแล้วให้มากราบลาศาลปู่-ย่า พร้อมเอาส้มกลับมา 2 ลูก

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งแรกที่ควรแวะมาสักการะยังศาลเจ้าแห่งนี้ ได้แก่ “ทีตีแป่บ้อ” เรียกสั้นๆว่า “ทีกง” หรือ ชื่อในภาษาไทย คือ “ศาลเทพยดาฟ้าดิน” ซึ่งเป็นการกราบไหว้สักการะสวรรค์ หรือเหล่าเทพยดาที่อยู่บนสรวงสวรรค์นั่นเอง(ตามวัดจีน หรือ ศาลเจ้าจีน จะมี “ทีตีแป่บ้อ” อยู่เสมอทุกที่)เสาทีกง จะจัดสร้างขึ้นในกรรมการสมัยที่ 51(พ.ศ.2544) โดยมีความสูง 14.4 เมตร

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สอง คือ “ปึงเถ่ากงม่า”หรืิอ ชื่อภาษาไทย คือ”เจ้าปู่เจ้าย่า” สร้างในกรรมการสมัยที่ 41(พ.ศ.2534) โดยภายในศาลจะมีรูปบูชา “เจ้าปู่เจ้าย่า” อยู่ภายในซึ่งลูกหลานชาวอุดรส่วนใหญ่จะมากราบไหว้เพื่อขอพรในความเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ ในความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากขอสิ่งใดมักสมปราถนาตามที่ขออยู่เสมอ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สาม คือ ศาลเจ้าพ่อหนองบัว เนื่องจากที่ตั้ง ของ ศาลเจ้าปู่ย่านั้น ตั้งอยู่ริมหนองบัวหรือในปัจจุบันมีการสร้างสวนสาธารณะหนองบัวขึ้นวึ่งก็ได้มีการอัญเชิญเจ้าพ่อหนองบัวมาสถิตย์อยู่ภายในบริเวญศาลเจ้าปู่ย่า
ตามความเชื่อตั้งแต่การก่อตั้งศาลเจ้าปู่ย่าขึ้นใหม่ๆ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สี่ คือ “ตี่จู๋เอี๊ย” หรือ ชื่อภาษาไทย คือ เจ้าที่เจ้าทางซึ่งก็คือสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาดูแลสถานที่นั้นๆได้แก่บริเวณศาลเจ้าปู่ย่า และ บริเวณหนองบัวนั่นเอง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่ห้า คือ พระสังกัจจายน์ ซึ่งได้ขุดพบใต้ต้นไทรในบริเวณศาลเจ้าปู่-ย่า เมื่อ พ.ศ.2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่หก คือ “ฉั่งง่วนส่วย” เป็นองค์เทพที่เชี่ยวชาญในการปราชญ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นที่นิยมสักการะของนักเรียน นักศึกษา ในการจะไปสมัครสอบครั้งสำคัญแต่ละครั้ง (ข้อขอบคุณข้อมูลบางส่วน www.udclick.com )
   
ขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ภูมิภาคภาคกลาง)

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี


ยกเมืองจีนมาไว้ที่อุดร...ที่ ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน จ.อุดรธานี

เที่ยวไทย บันทึกนักเดินทาง จังหวัดอุดรธานี

สถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งที่กำลังมาแรงของอุดรธานี
ก็คือ ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน บรรยากาศ เหมือน จำลองเมืองจีนโบราณมาไว้ที่อุดร

ตั้งอยู่ข้างศาลปู่ย่าอุดร
วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นจุดศูนย์รวมอนุรกษ์ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีบรรพชนและหลักปรัชา
ของพี่-น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี

บรรยากาศภายนอก ตกแต่งด้วยสวนแบบจีนโบราณ
มีน้ำพุ รูปแกะสลัก และดอกไม้นำเข้ามาจากประเทศจีน

มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ เป็นที่เลี้ยงปลาคราฟหลายจักรพรรดิ์หลายร้อยตัว
ผู้ที่มาชมท่องเที่ยว สามารถให้อาหารปลาได้

บริเวณด้านหน้า สะดุดตาด้วยรูปแกะสลักหิน ท่านขงจื้อ
บริเวณกลางสระน้ำ

การออกแบบตกแต่งส่วนออกแบบในแนวสวนจีนภายใต้ชื่อ สวนคุณธรรมพันปี 24 กตัญญู
ภายในสวนตกแต่งด้วยไม้มงคลของจีน อันได้แก่ ต้นเครามังกร ต้นหลิว ต้นไผ่ดำ ประทัดจีน หงส์ฟู่ บีโกเนีย
โป๊ยเซียน พุด เทียนหอมที่รายล้อมสระบัว

ภายในตัวอาคาร แบ่งเป็นห้องจัดแสดงต่างๆ มากมาย
โดย ห้องแรก เป็นของโถงใหญ่ ติดตั้ง เทคโนโลยีของโรงภาพยนต์ 3 มิติ เอาไว้ให้ชม

ห้องจัดแสดงชั้นบน บอกเล่าถึงเรื่องราวของคนไทยเชื่อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี เมื่อกวา 120 ปี ที่ผ่านมา
เรื่องราวของธุรกิจการค้า การศึกษา และการรวมตัวของ 9 องค์กร 11 ตระกูลแซ่

และมูลนิธิศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี บอกเล่าถึงความเป็นมาของเทพเจ้าปู่-ย่า ที่เป็นที่เคารพและศรัทธาอย่างกว้างขวาง

มีการจำลองภาพวัฒนธรรมจีนเอาไว้เช่น
การเชิดสิงโต เชิดมังการ การแห่เจ้าปู่ย่า รอบเมืองอุดรธานี

การแสดงหน้ากากของจีน และ การแสดงเอ็งกอ

นอกจากนี้ชั้ชั้นล่างยังจัดแสดงเรื่องราวของมหาบุรุษปราชญ์ผู้ยิ่งใหมญ่ชาวจีน “ขงจื่อ”

เป็นการจัดแสดงเรื่องราวชีวิตของท่าน ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา
คำสอนและการเดินทางถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในรูปแบบของภาพแกะสลักหินนูนต่ำ และ การปั้นรูปเหมือน

มีการจำรองสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติของท่าน
ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา และ ถ่ายภาพ
นอกจากนี้ยังรวบรวมคำสอนสำคัญของท่านมาจัดแสดงผ่านภาพประกอบคำบรรยายและวีดีทัศน์

นอกจากนี้ยังมีอาคารเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนพระองค์ และพระราชกรณียกิจในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งอัยการศาลจังหวัดอุดรธานี

และจัดแสดงภาพ พระเจ้าอยู่หัว กับ จังหวัดอุดรธานีเอาไว้

นอกจากอาคารหลักแล้ว ยังมี าคารการเรียนรู้ อาคารหอประชุมปรีชา ชัยรัตน์
และอาคารสำนักงาน ร้านค้า ที่จำลองบรรยากาศจีนโบราณเอาไว้

มีสระพานหิน และศาลาแบบจีน เรียงรายตามทางเชื่อมต่ออาคาร

ประตูทางเข้า สร้างแบบศิลปะจีนโราณ อย่างสวยงาม

นอกจากวันธรรมดาแล้ว ช่วงเทศกาลจะมีการประดับตกแต่ง
ด้วยโคมไฟสวยงามหลายพันดวง  เช่น งานตรุษจีน งานงิ้ว เป็นต้น

นอกจากศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน บริเวณข้างๆ สวนคุณธรรม
ได้จำรองสวนจีน อาคาร บ้านแบบจีนเอาไว้
ตั้งอยู่ภายใน ศาลปู่ย่า อุดรธานี

และที่ ที่ต้องแวะไปให้ได้คือ ศาลปู่ย่า อุดรธานี ตั้งอยู่ด้านข้างนี้เอง
เชิญสักการะของพร เจ้าปู่ย่า ถ่ายรูปชมความงาม บริเวรริมหนองบัว

การเข้าชมไม่มีวันหยุด ไม่เสียค่าเข้าชม
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี 889 ถ.39 ศาลเจ้าเนรมิตร ต.หมากแข้ง อ.เมือง .จ.อุดรธานี
โทร.  042-242444 , 042- 242333

ศาลหลักเมืองอุดรธานี

 ศาลาหลักเมืองอุดรธานี และสักการะท้าวเวสสุวรรณ จ.อุดรธานี


ศาลาหลักเมืองอุดรธานี  หรือที่เรียกว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอุดรธานี  เป็นศูนย์รวมความเคารพและความศรัทธา ซึ่งชาวเมืองอุดรธานีมักจะพากันมาสักการบูชา  ในบริเวณศาลหลักเมืองอุดรธานี   ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอื่นๆ อันเป็นที่เลื่อมใสบูชาเป็นอย่างสูงได้แก่   หลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทอง  และท้าวเวสสุวัณ  ซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลในแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป


ตามประวัติกล่าวว่า  ศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2502  โดยอัญเชิญดวงพระวิญญาณของ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นเมือ พ.ศ.2436  มาสถิต  ณ  เสาหลักเมืองนี้ด้วย  องค์เสาหลักเมืองทำขึ้นด้วยไม้คูณยาว  5  เมตรเศษ  และฝังลึกลงไป 3 เมตร  มีการบรรจุแผ่นยันต์และแก้วแหวน  เงิน  ทองต่างๆเป็นจำนวนมากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล  ต่อมาในปี พ.ศ.2542  ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมไป  ตัวอาคารของศาลหลักเมืองจะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ผสมผสานศิลปะแห่งภาคอีสาน  ให้เป็นที่สักการะขอพรของชาวอุดรธานีสืบมา

นอกจากนี้บริเวณศาลหลักเมืองยังมีรูปปั้นท้าวเวสสุวัณ 1 ใน 4  ของท้าวจตุโลกบาลผู้ปกครองเหล่าอสูร  และยักษ์  ตลอดจนภูตผีปีศาจทั้งหลายอันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอุดร  ที่ได้เชิญมาประดิษฐานไว้หลังการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่  ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามาสักการะศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสามารถบูชาและกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ได้ในหนเดียว

ศาลหลักเมืองอุดรธานี ตั้งอยู่บริเวณทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นสถานที่สำคัญในการดำรงและสืบสันติสุขของประชาราษฎร์จังหวัดอุดรธานี ศาลหลักเมืองเดิมได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในสมัย นายจินต์ รักการดี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2502 ที่ผ่านมาศาลหลักเมืองเดิมได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีการปรับปรุงสร้างศาลาหลังใหม่ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2539 โดยในขณะนั้น นายวิชัย ทัศนเศรษฐ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้อัญเชิญท้าวเวสสุวรรณ อันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอุดรธานีมาประดิษฐานเคียงคู่กับอาสน์ศาลหลักเมืองใหม่พร้อมกันอีกโสตหนึ่งด้วย


นอกจากนี้โครงการสร้างศาลหลักเมือประจำจังหวัดอุดรธานียังเป็นโครงการที่รัฐบาลให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติโครงการหนึ่ง ในวาระสมัยอันเป็นมงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2552 และนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอราสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงเปิดศาลหลักเมืองประจำจังหวัดอุดรธานีในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2552

สถานที่ตั้ง
บริเวณทุ่งศรีเมือง  อ.เมือง จ.อุดรธานี

ความเชื่อและวิธีการบูชา
มีผู้นิยมมาสักการะศาลหลักเมืองเพื่อขอพรให้ชีวิตมั่นคง  ราบรื่นทั้งการงานและการเงิน โดยมีเคล็ดความเชื่อว่าหากเข้าประตูใดให้ออกประตูนั้น จะทำให้ได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้น  ส่วนการสักการะพระพุทธโพธิ์ทองนั้นเชื่อว่าจะทำให้มีร่มโพธิ์ร่มไทร  มีผู้ใหญ่สนับสนุน  ค้ำจุน  โดยผู้ที่มาสักการะมักเก็บใบโพธิ์ที่หล่นอยู่หลังคาไปบูชาเพื่อเป็นมงคลด้วย  และการบูชารูปปั้นของท้าวเวสสุวัณนั้นถือว่าคือการขอพรให้ศัตรูหมู่มารหรือผู้มาคิดร้ายให้แพ้ภัยตัวเอง  หรือกลับใจมาเป็นมิตร

เทศกาลงานประเพณี
มีพิธีบวงสรวงสักการะในวาระสำคัญของเมืองทุกครั้ง   เช่นในเทศกาลสงกรานต์  เทศกาลปีใหม่  หรืองานประจำปีทุ่งศรีเมือง (ประมาณวันที่  1-15 ธันวาคม ของทุกปี)